วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลอนวันภาษาไทย



กลอนวันภาษาไทย
ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาชาติ
อย่าปภาษาไทยนั้นเป็นภาษาชาติ
อย่าประมาทใช้ผิดให้เคืองขุ่น
ครูท่านสอนสั่งไว้เลยนะคุณ
ความว้าวุ่นแห่งภาษาจะมากมี

ถ้าเมื่อใดไร้ภาษาที่มีอยู่
คงอดสูอายเขาไปทุกที่

และอาจสิ้นชาติไทยไปด้วยซี
เพราะวิถีชีวีที่เปลี่ยนไป

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีค่า
มากยิ่งกว่านพรัตน์เป็นไหนไหน
มวลหมู่แก้วถึงมีค่ากว่าสิ่งใด
คงมีได้แค่เพียงค่าราคาเงิน

แต่คุณค่าของภาษามีสูงส่ง
ช่วยดำรงความเป็นชาติไม่ขัดเขิน
เพราะภาษาแสดงลักษณ์จำหลักเกิน
กว่าค่าเงินตรา...แต่สง่าอยู่ที่ใจ

เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาให้อยู่นานนานจะได้ไหม
อย่าทำลายภาพลักษณ์ความเป็นไทย
โดยที่ไม่รู้ค่าภาษาเอยฯ

ครูท่านสอนสั่งไว้เลยนะคุณ
ความว้าวุ่นแห่งภาษาจะมากมี

ถ้าเมื่อใดไร้ภาษาที่มีอยู่
คงอดสูอายเขาไปทุกที่

และอาจสิ้นชาติไทยไปด้วยซี
เพราะวิถีชีวีที่เปลี่ยนไป

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีค่า
มากยิ่งกว่านพรัตน์เป็นไหนไหน
มวลหมู่แก้วงมีค่ากว่าสิ่งใด
คงมีได้แค่เพียงค่าราคาเงิน

แต่คุณค่าของภาษามีสูงส่ง
ช่วยดำรงความเป็นชาติไม่ขัดเขิน
เพราะภาษาแสดงลักษณ์จำหลักเกิน
กว่าค่าเงินตราแต่สง่าอยู่ที่ใจ

เป็นคนไทยต้องรักภาษาไทย
รักษาให้อยู่นานนานจะได้ไหม
อย่าทำลายภาพลักษณ์ความเป็นไทย
โดยที่ไม่รู้ค่าภาษาเอยฯ

ช้ผิดให้เคืองขุ่น

การละเล่นของเด็กไทย

การละเล่นของเด็กไทย
การละเล่นของเด็กไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านการสะท้อนถึงชีวิต ความคิด  ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้นๆ การละเล่นของเด็กไทยหลายๆอย่างเป็นการส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเสริมร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมตลอดจนสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานซึ่งการละเล่นนั้นยังเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ ชวนให้เด็กใช้ไหวพริบอีกด้วย นอกจากนี้การละเล่นของไทยนั้นมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในขณะเดียวกันการละเล่นไทยก็เริ่มจะจางหายไป
    การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การละเล่นกลางแจ้ง ก็มีการละเล่นแบบมีบทร้องประกอบ เช่น โพงพาง อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหา ส่วนกลางละเล่นกลางแจ้งที่ไม่มีบทร้องประกอบ เช่นล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น อีกประเภทหนึ่งก็คือ การละเล่นในร่ม ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการละเล่นในร่มที่ไม่มีการขับร้องก็เช่น ดีดเม็ดมะขามลงหลุม เสือตกถัง เป่ากบ ตีตบแผละ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทร้องอีกด้วย อาทิ จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า และบทล้อเลียน ได้แก่ ผมจุก คลุกน้ำปลา เป็นต้น การละเล่นกลางแจ้งหรือในที่ร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก เก้าอี้ดนตรี เป่ายิงฉุบปิดตาต่อหางเป็นต้นซึ่งการละเล่นของเด็กไทยนี้ได้สะท้อนถึงความเป็นไทยในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย เช่น การผูกจุก หรือการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นขโมยลักควาย การขายแตง ซึ่งยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทยในเรื่องไสยศาสตร์ เจ้าเข้าทรงเช่น แม่ศรี ลิงลม นอกจากนี้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมเรื่องของมารยาท เช่นในการละเล่นจ้ำจี้                                                
การละเล่นของเด็กไทยสามารถให้ประโยชน์ทั้งทางด้านร่างกาย การฝึกการสังเกต ไหวพริบและการใช้เชาว์ปัญญา รวมไปถึงการฝึกวินัยและการเคารพกติกา การฝึกความอดทน ฝึกความสามัคคีในขณะที่กำลังฝึกความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวเด็กทำให้เด็กนั้นมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไปอีกด้วย