วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การละเล่นของเด็กไทย

การละเล่นของเด็กไทย
การละเล่นของเด็กไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านการสะท้อนถึงชีวิต ความคิด  ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้นๆ การละเล่นของเด็กไทยหลายๆอย่างเป็นการส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเสริมร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมตลอดจนสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานซึ่งการละเล่นนั้นยังเป็นกิจกรรมที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ ชวนให้เด็กใช้ไหวพริบอีกด้วย นอกจากนี้การละเล่นของไทยนั้นมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในขณะเดียวกันการละเล่นไทยก็เริ่มจะจางหายไป
    การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การละเล่นกลางแจ้ง ก็มีการละเล่นแบบมีบทร้องประกอบ เช่น โพงพาง อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหา ส่วนกลางละเล่นกลางแจ้งที่ไม่มีบทร้องประกอบ เช่นล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น อีกประเภทหนึ่งก็คือ การละเล่นในร่ม ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการละเล่นในร่มที่ไม่มีการขับร้องก็เช่น ดีดเม็ดมะขามลงหลุม เสือตกถัง เป่ากบ ตีตบแผละ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทร้องอีกด้วย อาทิ จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า และบทล้อเลียน ได้แก่ ผมจุก คลุกน้ำปลา เป็นต้น การละเล่นกลางแจ้งหรือในที่ร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก เก้าอี้ดนตรี เป่ายิงฉุบปิดตาต่อหางเป็นต้นซึ่งการละเล่นของเด็กไทยนี้ได้สะท้อนถึงความเป็นไทยในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย เช่น การผูกจุก หรือการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน เช่น การละเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นขโมยลักควาย การขายแตง ซึ่งยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อของชาวไทยในเรื่องไสยศาสตร์ เจ้าเข้าทรงเช่น แม่ศรี ลิงลม นอกจากนี้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมเรื่องของมารยาท เช่นในการละเล่นจ้ำจี้                                                
การละเล่นของเด็กไทยสามารถให้ประโยชน์ทั้งทางด้านร่างกาย การฝึกการสังเกต ไหวพริบและการใช้เชาว์ปัญญา รวมไปถึงการฝึกวินัยและการเคารพกติกา การฝึกความอดทน ฝึกความสามัคคีในขณะที่กำลังฝึกความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวเด็กทำให้เด็กนั้นมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไปอีกด้วย 

                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น